วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเรียนครั้งที่ 6


  บันทึกอนุทิน  
วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  19  กรกฎาคม พ.. 2556
ครั้งที่ 6  เวลาเรียน 13.10     เวลาเข้าสอน 13.10     เวลาเข้าเรียน 13.10   เวลาเลิกเรียน 16.40      

ความรู้ที่ได้ในวันนี้..

แนวการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
       1.) การจัดประสบการณ์ภาษาที่เน้นทักษะทางภาษา Skill Approch
1.ให้เด็กรู้จักส่วนย่อยของภาษา
2.การประสมคำ
3.ความหมายของคำ
4.นำคำมาประกอบเป็นประโยค
5.การแจกลูกสะกดคำ การเขียน

การแจกลูกคำ

Kenneth Goodman
-เสนอแนวทางสอนภาษาแบบธรรมชาติ
-มีความเชื่อมโยงระหว่างภาษากับความคิด
-แนวทางการสอนมีพิ้นฐานจากการเรียนรู้และธรรมชาติของเด็ก
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
1.สนใจและมีความอยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบๆตัว
2.ช่างสงสัย ช่างถาม
3.มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
5.ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
6.ชอบเลียนแบบคนรอบข้าง
อาจารย์ได้เปิดวีดีโอภาษาธรรมชาติให้ดู   http://www.thaiteachers.tv/vdo2.php?id=796
กล่าวสรุปวีดีโอ..มนุษย์เรียนรู้ภาษาเน้นความหมายการสื่อสารเพื่อนำไปใช้ในชีวิตจริง ครูต้องคิดเป็นและสอนเด็กแบบธรรมชาติ ผู้ใหญ่ทุกคนที่แวดล้อมเด็กต้องเป็นแบบอย่างที่ดีการสอนภาษานั้นต้องบูรณาการเป้นกิจกรรมได้ทุกกิจกรรม*ควรให้เด็กได้ออกความคิดเห็นจะช่วยให้เด็กได้พัฒนาภาษา ต้องให้เด็กสื่อความคิดและดึงศักยภาพเด็กด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ออกมาให้ได้มากที่สุด J

**ครูจะเห็นคำที่ครูพูด ครูก็ต้องเขียนและพูดไปด้วย พอเด็กได้เห็นครูทั้งพูดทั้งเขียน ซ้ำๆก็จะซึมซับ**
       2.)การสอนภาษาแบบธรรมชาติ Whole Language
1. สอนแบบบูรณาการ องค์รวม
2.สอนในสิ่งที่เด็กสนใจและมีความหมายสำหรับเด็ก
3.สอนสิ่งใกล้ตัวเด็กและอยู่ในชีวิตประจำวัน
4.สอดแทรกการฝึกทักษะ การฟัง พูด อ่าน เขียนไปพร้อมกับการทำกิจกรรม
5.ไม่เข้มงวดกับการท่องสะกด
6.ไม่บังคับให้เด็กเขียน                                                                                                           
ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อการสอนภาษาธรรมชาติ
Dewey // Piaget // Vygotsky // Haliday
- เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์และการลงมือกระทำ
- เด็กเรียนรู้จากกิจกรรมการเคลื่อนไหวของตนเองและการได้สัมผัสจับต้องกับสิ่งต่างๆแล้วสร้างความรู้ขึ้นมาด้วยตนเอง

หลักการ
1.การจัดสภาพแวดล้อม <เด็กต้องได้จัดด้วย>
2.การสื่อสารที่มีตความหมาย เช่น คำว่า ช้อน ภาษาธรรมชาติเราจะไม่สะกดแต่เราจะเขียนให้เด็กดูแล้ว เด็กเขียนตาม
3.การเป็นแบบอย่าง เช่น ภาษาในปัจจุบันอาจเขียนไม่ถูกต้องเราควรบอกเด็ก เพราะผลที่ตามมาอาจ ทำให้เด็กเกิดความเข้าใจผิด
4.การตั้งความหวัง
5.การคาดคะเน <เด็กต้องมีโอกาสในการคาดเดา>
6.การใช้ข้อมูลย้อนกลับ <ต้องยอมรับและตอบสนองให้เด็กทุกสถานการณ์>
7.การยอมรับนับถือ <เด็กมีความแตกต่างกัน เด็กเลือกกิจกรรมด้วยตนเองไม่ทำกิจกรรมตามขั้นตอน
8.สร้างความรู้สึกเชื่อมั่นให้กับเด็ก <ครูไม่ควรทำตัวให้เด็กกลัว เพราะเด็กอาจไม่กล้าเข้ามาหาเพื่อขอความช่วยเหลือ>
บทบาทครู
1.อย่าคาดหวังกับเด็กเพราะเด็กแตกต่างกัน
2.ยอมรับในความไม่ถูกต้องครบถ้วนของเด็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น