อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ
แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 13.10 เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน
13.10 เวลาเลิกเรียน
16.40
ความรู้ที่ได้ในวันนี้..
การนำเสนอของกลุ่มที่ 8
กลุ่มที่ 8 พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
พัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคิดและความเข้าใจของเด็ก
ลำดับขั้น
1. อายุ0-2 ปี >> ทดลองใช้พฤติกรรม
ลองผิดลองถูก
2. อายุ2-4 ปี >> เริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์
3. อายุ5 ปี >> เริ่มเข้าใจเกี่ยวกับขนาด
พัฒนาการ
กระบวนการพัฒนาการ
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างของร่างกายและแบบแผนของร่างกายทุกส่วน
การเปลี่ยนแปลงนี้จะก้าวหน้าไปเรื่อยๆเป็นขั้นอตน จากระยะหนึ่งไปอีกระยะหนึ่ง
ทำให้เด็กมีลักษณะและความสามารถใหม่ๆ เกิดขึ้น
ซึ่งมีผลทำให้เจริญก้าวหน้าตามลำดับทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
องค์ประกอบของสติปัญญา
1. ความสามารถทางภาษา
1. ความสามารถทางภาษา
2. ความสามารถทางตัวเลข
3. ความสามารถทางการใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถทางการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
5. ความสามารถทางความจำ
6. ความสามารถทางเชิงสังเกต
7. ความสามารถทางมิติสัมพันธ์
โครงสร้างของสติปัญญา
(สติปัญญาเน้นสร้างและระดับทางการคิด)
1. การรับรู้
2. ความจำ
3. การเกิดความคิดเห็น
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
วัยทารกอายุแรกเกิด-2ปี
พัฒนาการเด็กในช่วงนี้เป็นรากฐานสำคัญ มีพัฒนาการทางร่างกายมากกว่าทุกวัย ปกติมากกว่า 2 เท่า และจะลดลงถึง 30% การใช้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับมากระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เด็กมีทั้งสิ้น 11 อารมณ์
วัยทารกอายุแรกเกิด-2ปี
พัฒนาการเด็กในช่วงนี้เป็นรากฐานสำคัญ มีพัฒนาการทางร่างกายมากกว่าทุกวัย ปกติมากกว่า 2 เท่า และจะลดลงถึง 30% การใช้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับมากระทบจะเกิดขึ้นซ้ำอีกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เด็กมีทั้งสิ้น 11 อารมณ์
**การจัดประสบการณ์ให้เด็กง่ายๆ
ควรจะให้เด็กบรรยายตามภาพง่ายที่สุด
อาจารย์ให้วาดภาพของที่รักที่สุดแล้วบอกว่าได้มายังไง?
องค์ประกอบของภาษา
อาจารย์ให้วาดภาพของที่รักที่สุดแล้วบอกว่าได้มายังไง?
เป็นหมอนข้างกล้วยหอมจอมซนเป็นของที่แม่ซื้อให้ตอนเด็กๆ เพราะชอบดูการ์ตูนเรื่องนี้มาก..และตอนเด็กๆก็นอนก่ายมันทุกๆคืน
องค์ประกอบของภาษา
1. Phonology (เสียง)
- คือระบบเสียงของภาษา
- เสียงที่มนุษย์เปล่งออกมาเพื่อสื่อความหมาย
- หน่วยเสียงจะประกอบขึ้นเป็นคำ
เป็นภาษา
รูป
จ/า/น
2.Semantic (ความหมาย)
- คือความหมายของภาษาและคำศัพท์
- คำศัพท์บางคำสามารถมีได้หลายความหมาย
- ความหมายเหมือนกันแต่ใช้คำศัพท์ต่างกัน
รูป
3. Syntay (ไวยากรณ์)
- คือระบบไวยากรณ์
- การเรียงรูปประโยค
4. Pragmatic (การนำไปใช้)
- คือระบบการนำไปใช้
- ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามสถานการณ์และกาลเทศะ
แนวคิดนักการศึกษา
1. แนวคิดของกลุ่มพฤติกรรมนิยม
(การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือนิสัยเด็กโดยใช้แรงเสริมไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบ)
1. ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Skinner
- สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางภาษา
- ให้ความสำคัญกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
2. John B. Watson
- ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
- การวางเงื่อนไขพฤติกรรมของเด็ก
เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และผู้ใหญ่ที่จะสามารถวางเงื่อนไขให้เด็กเกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ได้ทุกพฤติกรรม
นักพฤติกรรมนิยมเชื่อว่า
- ภาษาเป็นกระบวนการภายในของมนุษย์
- การเรียนภาษาเป็นผลจากการปรับพฤติกรรมโดยสิ่งแวดล้อม
- เด็กเกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษา
- เด็กจะสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัว
2. แนวคิดกลุ่มพัฒนาการทางสติปัญญา
1. Piaget
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- ภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก
2.
Vygotsky
- เด็กเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
- สังคมบุคคลรอบข้าง
มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- เน้นบทบาทของผู้ใหญ่
- ผู้ใหญ่ควรช่วยชี้แนะและขยายประสบการณ์ด้านภาษาของเด็ก
3. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อเรื่องความพร้อมทางร่างกาย
1. Arnold
Gesell
- เน้นความพร้อมทางด้านร่างกายในการใช้ภาษา
- ความพร้อม
วุฒิภาวะของเด็กแต่ละคนไม่เท่ากัน
- เด็กบางคนอาจมีความพร้อมทางร่างกายในการใช้ภาษาได้เร็ว
- เด็กบางคนอาจมีปัญหาอวัยวะบางส่วนที่ใช้ภาษาในการสื่อสารบกพร่อง
4. แนวคิดของกลุ่มที่เชื่อว่าภาษาติดตัวมาตั้งแต่เกิด
1. Noam Chomsky
- ภาษาเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวมนุษย์
- การเรียนรู้ภาษาขึ้นอยู่กับวุฒิภาวะ
- มนุษย์ที่เกิดมาโดยมีศักยภาพในการเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่เกิดเรียกว่า LAD (Language Acquisition Device)
2. O.
Hobart Mower
- คิดค้นทฤษฎีความพึงพอใจ
" จะนึกถึงคำพูดคำแรกที่เด็กพูด
เกิดจะความสามารถในการฟังเพลง
ความเพลิดเพลินจากการได้ยินเสียงผู้อื่นและเสียงตัวเลข
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการทางภาษา"
แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางภาษา
- เป็นสิ่งที่สะท้อนปรัชญาและความเชื่อของครูเกี่ยวกับการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
- นำไปสู่การกำหนดกระบวนการที่ใช้อย่างแตกต่างกัน
Richard and Rodger (1995) ได้แบ่งมุมมองต่อภาษาในการจัดประสบการณ์เป็น 3 กลุ่ม
1. มุมมองด้านโครงสร้างของภาษา
- นำองค์ประกอบย่อยของภาษามาใช้ในการสื่อความหมาย
- เสียง ไวยากรณ์
การประกอบคำ วลี หรือประโยค
2. มุมมองด้านหน้าที่ของภาษา
- เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อความหมาย
- การจัดประสบการณ์เน้นการสื่อความหมาย
- ไม่ได้ละทิ้งแบบแผนหรือไวยากรณ์
3. มุมมองด้านปฏิสัมพันธ์
- เชื่อว่าภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม
- การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
- เด็กมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการใช้ภาษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น