วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเรียนครั้งที่ 2

            บันทึกอนุทิน      

วิชาการจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วัน/เดือน/ปี  21  มิถุนายน  พ.. 2556
ครั้งที่ 2  เวลาเรียน 13.10     เวลาเข้าสอน 13.10     เวลาเข้าเรียน 13.10   เวลาเลิกเรียน 16.40      
ความรู้ที่ได้ในวันนี้..
ความหมายของภาษา
ภาษา  หมายถึง การสื่อความหมาย
ภาษา เป็นเครื่องมือในการแสดงความคิดและความรู้สึก การสื่อสารไม่จำเป็นที่จะใช้ภาษาพูดเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสื่อหลายอย่างที่จะใช้สื่อสารให้เราเข้าใจได้ เช่นการใช้ภาพต่างๆในสื่อสาร เป็นต้น
      ความสำคัญของภาษา
1.ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
3.ภาษาเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน
4.ภาษาเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงจิตใจ
      ทักษะทางภาษาประกอบด้วย 4 อย่าง คือ
1.การฟังใช้หูฟังและต้องใช้ความเข้าใจ
2.การพูดเป็นการสื่อถึงบุคคลอื่น
3.การอ่านเป็นการใช้สายตา
4.การเขียนเป็นการสื่อถึงคนอื่น
     ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
กล่าวไว้ว่า.การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการทางด้านภาษาและสติปัญญาของเด็กโดยให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่นเพื่อจะได้มีการพัฒนาที่ดี
กระบวนการเรียนรู้ของเด็กประกอบด้วย 2 กระบวนการคือ
     1.การดูดซึม (Assimilation)ป็นกระบวนการที่เด็กจะได้เรียนรู้ และดูดซึมภาพต่างๆจากสิ่งแวดล้อมด้วยประสบการณ์ของตนเอง เช่นถ้ามีผู้ใหญ่ถามว่า สัตว์อะไรที่มีปีกและบินได้ เด็กก็จะตอบทันทีว่าคือ นก นั่นคือความรู้ที่เด็กได้รับมาตามที่ผู้ใหญ่เคยบอกว่าสัตว์ที่มีปีกบินได้นั้นเรียกว่านก โดยที่เด็กยังไม่เห็นของจริง
     2.การปรับความเข้าใจเดิม ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่(Accommodation)เป็นกระบวนการที่เกิดควบคู่ไปกับการดูดซึมโดยการปรับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับ เช่น เด็กๆจะรู้เพิ่มมากขึ้นว่า สัตว์ที่มีปีก บินได้ ปากแหลมๆ ร้องจิ๊บๆ เรียกว่า นก
เมื่อเกิดการดูดซึมและการปรับความเข้าใจจะเกิดความสมดุล (Equilibrium) กลายเป็นความคิดรวบยอดในสมอง
     Piaget ได้แบ่งพัฒนาด้านสติปัญญา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการใช้ภาษา  ดังนี้
     1.ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (Sensorimotor Stage) แรกเกิด-2ปี เด็กจะเรียนรู้จากประสาทสัมผัสต่างๆ เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์จากสิ่งแวดล้อม บุคคลรอบตัว เด็กจะสนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวก่อนที่จะเรียนรู้
     2.ขั้นเตรียมการความคิดที่มีเหตุผล
2.1 อายุ 2-4 ปี เด็กเริ่มใช้ภาษาและสัญลักษณ์ในการสื่อสารเล่นบทบาทสมมุติ การเล่าเรื่องแสดงความรู้สึกป่านสีหน้า บอกชื่อสิ่งต่างๆรอบตัว การใช้ภาษาของเด็กนั้นมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางจะใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์แสดงออกโดยคิดว่าผู้อื่นคิดเหมือนตน
2.2 อายุ 4-7 ปี เด็กจะใช้ภาษาได้ดีกับคนรอบข้างและให้ความสนใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้บ้าง ยังยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง รู้จักสร้างมโนทัศน์
     3. การคิดแบบรูปธรรม 
อายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้เด็กสามารถแก้ปัญหาได้โดยรู้จักใช้เหตุผลและเข้าใจสิ่งต่างๆมากขึ้น
     4. ขั้นการคิดแบบนามธรรม
อายุ11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะคิดด้วยเหตุผลอย่างเป็นระบบและจะใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาและเข้าใจกฏเกณฑ์ต่างๆได้ดี

พัฒนาการทางภาษาของเด็ก
เด็กจะค่อยๆสร้างความรู้และความเข้าใจเป็นลำดับขั้น ครูหรือผู้สอนควรต้องมีความเข้าใจและยอมรับหากพบว่าเด็กใช้คำศัพท์หรือไวยากรณ์ไม่ถูกต้อง ควรจะมองว่านั่นเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางภาษาของเด็ก            
            
                 จิตวิทยาการเรียนรู้
1. ความพร้อม คือ วัย ความสามารถ และประสบการณ์เดิมของเด็ก
2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ อิทธิพลทางพันธุกรรม และอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม
3.การจำ คือ การเห็นบ่อยๆ การทบทวนเป็นระยะ การจัดหมวดหมู่ การใช้คำสัมผัส
4.การให้แรงเสริม คือ มีทั้งทางบวก และทางลบ
เอาความรู้นี้ไปใช้อะไรได้บ้าง
1. ความรู้นี้ทำให้เกิดความเข้าใจและปรับตนเองให้ยอมรับเด็กมากขึ้นว่าเด็กทุกคนนั้นมีความแตกต่างกัน
2. ทำให้สามารถสังเกตการสื่อสารของเด็กที่เด็กต้องการจะสื่อสารออกมาโดยที่ดูจากสิ่งที่เด็กแสดงออกด้วยอาการต่างๆ ไม่ใช่ดูการการพูดของเด็กเพียงอย่างเดียว
3. สามารถนำคามรู้ไปใช้ได้กับทุกสถานการณ์ทั้งในครอบครัวและในโรงเรียนทำให้รู้ว่าเด็กจะพัฒนาไปตามลำดับขั้นและเราไม่ควรเร่งรัด 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น